การดำเนินธุรกิจร้านขนมอบเบเกอรี่
การเงิน/การลงทุน
1. แหล่งเงินทุน
ขนาดของการลงทุนในร้านขนมอบเบเกอรี่ สามารถทำได้หลายระดับตั้งแต่ร้านขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียวจนถึงร้านที่เป็นแฟรนไชส์ที่มีสาขามากกว่า
10 สาขา เงินลงทุนอยู่ระหว่าง 50,000 – 500,000
บาทต่อหนึ่งร้านหรือหนึ่งสาขา
ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ร้าน
ทำเลที่ตั้งร้าน
การตกแต่งร้าน อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตและความหลากหลายของสินค้า
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก ผู้ที่สนใจจะประกอบธุรกิจขนมอบเบเกอรี่ก็สามารถใช้เงินลงทุนเริ่มต้นของตนเองหรือจัดหาเงินทุนจากสถาบันการเงินต่าง
ๆ เช่น
ธนาคาร SMEs, ธนาคารออมสิน หรือธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เป็นต้น
2. รายละเอียดการลงทุน
2.1
ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้นจะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการ สามารถแบ่งได้เป็น
· ค่าตกแต่งร้าน เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ประมาณร้อยละ 20 – 50 ของเงินลงทุน
· ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำขนม ประมาณร้อยละ 35 – 45 ของเงินลงทุน
· เงินทุนหมุนเวียน ประมาณร้อยละ 30 – 45 ของเงินลงทุน
ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการทำขนม เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา
ค่าไฟ และค่าวัสดุต่าง ๆ ฯลฯ
ตัวอย่าง ประมาณการเงินลงทุนเบื้องต้น
รายการ
|
จำนวนเงิน
(บาท)
|
ค่าตกแต่งอาคารสถานที่
(ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดของร้าน)
|
50,000-100,000
|
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน
|
|
โต๊ะ / เก้าอี้ทำงาน
|
5,000
|
ตู้เก็บภาชนะ
|
5,000
|
เครื่องปรับอากาศ
|
50,000
|
รายการ
|
จำนวนเงิน
(บาท)
|
ตู้เย็น
|
35,000
|
เครื่องโทรศัพท์และโทรสาร
|
7,500
|
เครื่องคิดเลข
|
1,000
|
เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ
|
10,000
|
รวม
|
113,500
|
ค่าเครื่องมืออุปกรณ์
|
|
เครื่องมืออุปกรณ์ทำขนม
|
38,000
|
อื่น ๆ
|
5,000
|
รวม
|
156,500
|
เงินทุนหมุนเวียน
|
50,000
|
รวมเงินลงทั้งหมด
|
256,500-306,500
|
2.2 ต้นทุนสำหรับกิจการร้านขนมอบเบเกอรี่
ต้นทุน หมายถึง
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้สินค้ามา ประเภทของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้า
สามารถจำแนกได้ดังนี้
กิจการที่ผลิตสินค้าเอง กิจการที่ซื้อมาขายไป
· ค่าวัตถุดิบ - ค่าสินค้าตามราคาในใบเสร็จ
· ค่าแรงงาน - ค่าขนส่ง
· ค่าโสหุ้ย /
ค่าใช้จ่ายในการผลิต
-
ค่าวัตถุดิบ
เป็นค่าใช้จ่ายหลักของสินค้าในกิจการขนมอบเบเกอรี่ วัตถุดิบของขนม ได้แก่
แป้ง เนย ไข่ นม
น้ำตาล และส่วนประกอบอื่น ๆ
ตามสูตรของขนมแต่ละชนิด
-
ค่าแรงงาน
ได้แก่
เงินเดือนหรือค่าแรงที่จ่ายให้แก่คนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต/การขายขนมโดยตรง เช่น
พนักงานผสม
พนักงานขายหน้าร้าน เป็นต้น
-
โสหุ้ย / ค่าใช้จ่ายในการผลิต คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่ค่าวัตถุดิบและค่าแรงงาน เช่น
ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์เครื่องมือใช้ในการผลิต ค่าเช่าอาคาร
ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือหรืออาคาร
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆ และค่าแรงงานทางอ้อม ได้แก่
ค่าแรงพนักงานทำความสะอาด เป็นต้น
ทำเลที่ตั้ง
ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดลักษณะของร้านให้เหมาะสมทั้งขนาดของร้านและสานที่ตั้ง ซึ่งร้านควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เยงกับแหล่งชุมนุมของกลุ่มเป้าหมายหรือบริเวณที่ลูกค้าสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก และเข้าถึงร้านได้ง่าย
มีบริเวณพื้นที่วางขายสินค้าและบรรยากาศภายในร้าน นอกจากนี้
ความสะอาดของร้านยังเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าเข้าร้านได้มาก และหากมีทำในลักษณะขายส่ง ผู้ประกอบการก็จะต้องพิจารณาว่าจะมีช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างไร การขนส่งสินค้าไปยังสถานที่จำหน่ายจะทำด้วยวิธีใด
จึงจะสามารถรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ช่องทางการขายอื่นๆ ได้แก่ การบริการส่งสินค้าถึงบ้าน รับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ดิสเคานท์สโตร์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ โรงพยาบาล
อาคารสำนักงานต่าง ๆ
และสถานีบริการน้ำมัน
สถานที่ประกอบการ
การดำเนินธุรกิจร้านขนมอบเบเกอรี่ผู้ประกอบต้องคำนึงในเรื่องสถานที่ประกอบการด้วยว่าควรจะเช่าหรือซื้อเป็นของตนเอง โดยใช้ข้อมูลหลาย ๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ เช่น
ความคล่องตัวหรือความพร้อมในการลงทุน
ผลประกอบการที่คาดว่าจะได้รับและแนวโน้มทางการตลาด เป็นต้น
หากเช่าต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า
ระยะเวลาในการเช่า
หากซื้อเป็นของตนเองควรคำนึงถึงภาวะดอกเบี้ยในกรณีต้องกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น