..........ยินดีต้อนรับทุกคน เข้าสู่เว็บเบเกอรี่..........

สัญญาและกฎหมาย


หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การประกอบธุรกิจร้านขนมอบเบเกอรี่  มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง  ดังนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                 ในการดำเนินการธุรกิจประเภทนี้ซึ่งอยู่ในลักษณะรูปแบบของคณะบุคคลมีการทำสัญญากันในรายละเอียดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันว่าแต่ละหุ้นได้ลงทุนไว้หุ้นละเท่าไหร่  ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง  แม้ว่าบรรดาหุ้นส่วนจะไว้วางใจกันอย่างไรเป็นการส่วนตัวก็ตาม  หรือกฎหมายไม่ได้บังคับไว้ว่าต้องทำสัญญาเป็นหนังสือก็ตาม  ก็ต้องทำสัญญากันให้ชัดเจนและมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร  ด้วยความรอบคอบและถูกต้องเพื่อมิให้เกิดปัญหาในอนาคต

 




กฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุข
                        ผู้ประกอบการจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม  หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด  ซึ่งมีพื้นที่เกิน  200  ตารางเมตร  และมิใช่เป็นการขายของในตลาด  ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น  ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกิน  200  ตารางเมตร  ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งกิจการตั้ง  ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง  และจำหน่ายทำประกอบ  ปรุง  เก็บหรือสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร  หรือสถานที่สะสมอาหาร  ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ในข้อกำหนดของท้องถิ่น  หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง  ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่น  มีอำนาจออกข้อกำหนดท้องถิ่นได้ดังต่อไปนี้


(พระราชบัญญัติสาธารณสุข  พ.ศ.  2535  มาตรา  38  มาตรา  39  และมาตรา  40 )
                                (1)  กำหนดประเภทของสถานที่จำหน่ายอาหาร  หรือสถานที่สะสมอาหารตามประเภทของอาหาร  หรือตามลักษณะของสถานที่ประกอบกิจการหรือตามวิธีจำหน่าย
                                (2)  กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งใช้และดูแลรักษาสถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหารที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารที่ใช้ทำประกอบหรือปรุงอาหาร  หรือที่ใช้สะสมอาหาร
                                (3)  กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญ  และการป้องกันโรคติดต่อ
                                (4)  กำหนดเวลาจำหน่ายอาหาร
                                (5)  กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร  และผู้ให้บริการ
                                (6)  กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร  กรรมวิธีการจำหน่าย  ทำ  ปรุง  เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร
                                (7)  กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้  และของใช้อื่น ๆ
                                ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  ผู้นั้นจะต้องถูกปรับตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

กฎหมายแรงงาน

            นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกันโดยทำเป็นหนังสือหรือโดยปากเปล่าก็ได้  แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ซึ่งมีการแสดงเจตนาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวย่อมทำให้ตกเป็นโมฆะได้
 

เครื่องหมายการค้า
            ผู้ประกอบการจะดำเนินธุรกิจร้านขนมอบเบเกอรี่  ให้ประความสำเร็จได้นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องหมายการค้า  เพราะเป็นเครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า  เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
                      การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้  ได้แก่  เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ  เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม  และไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว  และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น  จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันก็ได้  แต่ต้องระบุรายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองแต่ละอย่างโดยชัดแจ้ง  คำขอจดทะเบียนฉบับหนึ่งจะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันมิได้  การกำหนดจำพวกสินค้าให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
           เจ้าของเครื่องหมายการค้าใดประสงค์จะต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตน  ให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ  เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว  ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่านายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น  การขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
            ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร  กรณีเป็นบุคคลธรรมดา  หรือห้างหุ้นส่วนสามัยจะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีด้วย  โดยมีรายละเอียดภาระภาษีดังนี้
                (1) ภาษีเงินได้  ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของคนเดียว  หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ตามบทบัญญัติ ส่วน  2  หมวด  3 ลักษณะ  2  ถ้าไม่มีเงินได้พึงประเมินจากการขายเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้  (มาตรา  56  แห่งประมวลรัษฎากร ) โดยเงินได้จากการปรุงอาหารและขายอาหารเป็นเงินได้ตามมาตรา  40 (8) ประเภทธุรกิจพาณิชย์   และสามารถหักค่าใช้จ่ายการเหมาได้ตามพระราชกฤษฎีกา  ฉบับที่  11  (พ.ศ.2502)  มาตรา 8 (7)  ทั้งนี้ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการชะระภาษีปีละ 2 ครั้งคือ
                ครั้งแรก  เป็นการยื่นชำระภาษีครึ่งปี  6  เดือนแรกโดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน  ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94  ภายในเดือนกันยายน  และภาษีที่ได้ชำระไว้ครึ่งปีนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณเพื่อยื่นชำระภาษีประจำปี (มาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
                ครั้งที่สอง  เป็นการยื่นชำระภาษีประจำปี  12  เดือน  โดยผู้ประกอบการนำเงินได้ตั้งแต่มกราคมถึงเดือนธันวาคม  กรอกแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 9  และยื่นชำระในเดือนมีนาคมของปีถัดไป  ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถนำภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.  94) ที่ชำระเอาไว้แล้วมาเป็นเครดิตหักออกได้  (มาตรา  56  ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
                (2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ผู้ประกอบการายใดที่มีรายได้ตลอดทั้งปีเกินกว่า  1,800,000  บาท  นอกจากผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว  เขาก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย  โดยจะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการมีรายได้เกินกว่า  1,800,000  บาท  ผู้นั้นมีสิทธิขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเหมาร้อยละ 7  ได้  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์แลออกใบกำกับภาษีซื้อและขายได้โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีทุกเดือนในทุกๆวันที่  15  ของเดือนถัดไป
                จะเห็นได้ว่าการดำเนินธุรกิจจะมีกฎหมายหลายฉบับเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังและวางแผนให้ดี  มิฉะนั้นแล้วเมื่อเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบจะต้องคอยกังวลแก้ไขอยู่แสมอและต้องเสียเบี้ยปรับอีกจำนวนมาก  ส่วนเรื่องของภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร การทำธุรกิจประเภทร้านอาหารเครื่องหมายในรูปของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิบุคคลเพื่อแยกยอดเงินได้ออกไปเพราะถ้าเสียภาษีในนามของห้างหุ้นส่วน ฯ  หรือคณะบุคคล  เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับ  ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร  มาตรา  42  (4) และสุดท้ายถ้ารายได้เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
            ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินปีละครั้ง  โดยกรอกรายการที่ทางราชการกำหนดไว้  และพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 12.5  ของการกำหนดราคาทุนทรัพย์เมื่อผู้ประกอบการได้รับการประเมินผู้ใดไม่พอใจในการประเมินก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ถ้าผู้ใดละเลยหรือจงใจไม่เสียภาษีตัวนี้ผู้นั้นจะมีทาทางแพ่งและทางอาญา  ตามกำหนดไว้ในกฎหมาย
 
ภาษีป้าย
            ในการดำเนินธุรกิจประเภทนี้ส่วนมากจะมีการติดป้ายหน้าร้าย  หรือป้ายชื่อร้านรวมทั้งการติดตั้งโปสเตอร์ต่างๆ  ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องเสียภาษีตามกฎหมายด้วยโดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายกับเจ้าหน้าที่บริการราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งภาษีป้ายนี้ถือเป็นรายได้ของเทศบาล  สุขาภิบาล  หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดการคำนวณภาษีป้ายจะขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวอักษรไทย  หรือต่างประเทศรวมกับขนาดความกว้างยาวของป้าย
                1) ป้ายที่มีตัวอักษรไทยล้วน  ให้คิดอัตรา 3 บาท  ต่อ  500  ตารางเซนติเมตร
                2) ป้ายที่มีตัวอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น  คิดร้อยละ  20  บาท  ต่อ  500  ตารางเซนติเมตร
                3) ป้ายดังต่อไปนี้  คิดอัตรา  400  บาท  ต่อ  500  ตารางเซนติเมตร
                (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ  หรือไม่
                (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
                และป้ายตาม  1) 2) หรือ 3)  เมือคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท  ให้เสียภาษีป้ายละ  200  บาท
                ถ้าเสียภาษีป้ายที่จะต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่  3,000  บาทขึ้นไป  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะขอผ่อนชำระเป็น  3  งวด  งวดละเท่า ๆ กันก็ได้  โดยงวดที่  2  ต้องชำระภายใน  1เดือน  นับตั้งแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่  1  และต้องชำระงวดที่  3  ภายใน  1  เดือนนับตั้งแต่วันสุดท้ายที่ต้องชะระงวดที่  2 


การจดทะเบียนพาณิชย์

การทำธุรกิจร้านขนมอบหรือเบเกอรี่ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการในขั้นต้น ดังนี้

การจดทะเบียนพาณิชย์จัดตั้งธุรกิจ โดยทั่วไป รูปแบบการดำเนินกิจการของร้านขนมอบ หรือ เบเกอรี่ สมมารถทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว หรือดำเนินการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเงินลงทุน จำนวนผู้ลงทุน รวมถึงความคล่องตัวในการบริหารงาน ผู้ประกอบการควรพิจารณาให้เหมาะสมกับธุรกิจของตน ในการขอจดทะเบียนพาณิชย์นั้น ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการได้ที่
- www.ismed.or.th
- www.thairegistration.com
หรือจะสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานบริการจดทะเบียน ทั้ง 7 แห่ง ในกรุงเทพและ ปริมณฑล หรือในต่างจังหวัด สามารถยื่นจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ / กิ่งอำเภอทีตั้งสถานประกอบการ ยกเว้น อำเภอเมืองหรืออำเภอที่มีการกำหนดให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนการค้าประจำจังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ

การกำหนดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

            ในปัจจุบันกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจดเก็บภาษีและตรวจสอบภาษีอากร

                ประมวลรัษฎากร  มาตรา  3  เอกาทศ  ได้กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรและผู้มีหน้าทีเสียภาษีอากรและผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด  ทั้งนี้  โดยอนุมัติรัฐมนตรี

                ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกเกี่ยวกับการมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน  2,000  บาท  (มาตรา  3  ทวาทศ)

                ในเรื่องกำหนดเวลาในการขอมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพกรได้กำหนดไว้ดังนี้

                ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ยังไม่เคยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  ให้ยื่นคำร้องโดยใช้แบบ  ลป.10 ภายใน 60  วัน  นับแต่วันที่มีเงินได้

สถานที่ยื่นคำร้อง

                ในเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่นที่ฝ่ายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกองกรรมวิธีแบบแสดงรายการ  กรมสรรพากร  หรือที่ฝ่ายส่งเสริม  และบริการผู้เสียภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ทุกแห่ง  (สพท.)

                ในจังหวัดอื่น  ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองหรืออำเภอที่ตั้งสำนักงานสรรพากรจังหวัด  ให้ยื่นที่ฝ่ายบริหารสำนักงานสรรพากรจังหวัด

การวางแผนภาษีอากร

            หากผู้ประกอบการ  ต้องการที่จะประสบผลสำเร็จโดยได้รับผลกำไรสูงสุด  แต่อยากเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแล้ว  ผู้ประกอบการนั้นจะต้องศึกษา  หาความรู้ด้านภาษีให้ได้เยอะที่สุด  และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึง  ภาระทางภาษีอากร  ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะหมายถึงภาระค่าใช้จ่ายของธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง  ดังนั้นการวางแผนทางภาษีอากร  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อการปฏิบัติในทางภาษีอากรให้เป็นไปโดยถูกต้องและครบถ้วน  ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจดังนี้

                1.  ช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนถามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแต่ทั้งนี้จะต้องเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดโดยไม่อาศัยการ  หลีกเลี่ยงภาษีอากร

                2.  ช่วยขจัดปัญหาในการเสียภาษีของธุรกิจ

                3.  ประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษีไม่ถูกต้อง  ซึ่งหมายถึง  เบี้ยปรับ  เงินเพิ่ม  และค่าปรับทางอาญา

                4.  ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี  แต่ละประเภทให้เต็มที่  และถูกต้อง

                5.  ช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและไม่ไดมาตรฐานเพราะการดำเนินงานทางด้านเอกสารหลักฐานทางธุรกิจจะสอดคล้องกันระหว่างทางธุรกิจและภาษีอากร

                6.  ช่วยให้คลายความกังวลต่อการถูกเรียกตรวจสอบ

                7.  ช่วยเสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพได้เพราะในขั้นตอนของการวางแผนภาษีจะต้องศึกษาแนวทางปฏิบัติงานของธุรกิจให้ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งจะช่วยให้เห็น  ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขไปในคราวเดียวกัน



1 ความคิดเห็น:

  1. บ้านผมขาย bakery มา 10 กว่าปีแล้ว บ้านผม ทำเองที่บ้าน แล้วไปขาย ที่ตลาดแถวบ้าน แล้วไม่นานมานี่มีเจ้าหน้าที่มาขอตรวจภายในบ้าน เค้าอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข มาขอตรวจ และผ่านไปไม่กี่วันก็มีจดหมายให้ไปลงทะเบียนที่เขตว่าคุณประกอบการธุรกิจ ผมต้องไปลงไหมครับ ที่บ้านผมบ่นว่าแค่ขายของเป็นแม่ค้าตลาดทำไมต้องไปลงทะเบียนและเสียภาษีด้วย เพราะคนแถวๆนี่ที่ขายของตามตลาดก็ไม่เห็นต้องไปจดทะเบียนประกอบการ ถ้้าใครรู้ช่วยบอกเป็นแนวทางให้ด้วยนะครับ

    ตอบลบ